4 สารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเด็ก

แม้ว่าสังกะสีจะไม่ใช่ส่วนประกอบหลักของกระดูกเหมือนแคลเซียม แต่ก็เป็นแร่ธาตุที่สำคัญในกระบวนการสร้างมวลกระดูก นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในกระบวนการเจริญเติบโตดังนี้

ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน เพื่อกระตุ้นการแบ่งเซลล์ สร้างเซลล์ใหม่
ช่วยให้ความอยากอาหารดีขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารดีขึ้น
การขาดสังกะสีจะชะลอการสร้างเซลล์ใหม่และการเจริญเติบโตของกระดูก โดยเฉพาะหากขาดในปริมาณมาก อาจจะหยุดการยืดตัวได้เลยทีเดียว

“วิตามินดี” มีประโยชน์มากมาย นอกจากอยู่ในแสงแดดอ่อน ๆ ยามเช้าและเย็น เพื่อเป็นตัวช่วยดูดซึมแคลเซียมที่รับประทานเข้าไปเสริมสร้างกระดูก และป้องกัน โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกบาง แล้ว ยังมีประโยชน์อื่นๆ ที่คาดไม่ถึง เช่น ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิต ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ อีกทั้งยัง คลายความเครียด ลดอาการโรคซึมเศร้า ได้อีกด้วย


แคลเซียม เป็นส่วนประกอบหลักของกระดูก ดังนั้นตัวนี้จึงพลาดไม่ได้แน่นอนค่ะ

หลายๆคนคงรู้กันดีอยู่แล้ว ว่าแคลเซียมเป็นสารอาหารเพิ่มความสูงที่สำคัญ แคลเซียมเป็นส่วนประกอบถึง 70%ของมวลกระดูกทั้งหมด

การทานแคลเซียมที่สำคัญคือเน้นไม่ให้ขาด เพื่อให้กระดูกสามารถยืดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แต่เมื่อเราได้รับแคลเซียมเพียงพอแล้ว บทบาทของมันก็จะจบลง แคลเซียมจะไม่ได้ทำหน้าที่กระตุ้นให้สูงเพิ่มขึ้นอีกต่อไป แต่ตัวกระตุ้นความสูงหลักคือโกรทฮอร์โมนหรือฮอร์โมนเจริญเติบโต ซึงสามารถสร้างได้จากการได้รับสารอาหารหลักกลุ่มกรดอะมิโนโปรตีนค่ะ

ดังนั้นแม้ว่าเราจะทานอาหารเสริมแคลเซียมเยอะแค่ไหนไม่ว่าจากอาหารธรรมชาติหรืออาหารเสริมแคลเซียม ก็จะช่วยได้แค่ถึงจุดหนึ่ง ถ้าเราขาดสารอาหารกลุ่มหลักในการเพิ่มส่วนสูงอื่นๆ ก็จะสูงได้ยากค่ะ แต่อย่างไรก็ตามก็เป็นสารอาหารที่ถ้าขาดจะมีผลเสียต่อการเจริญเติบโตเช่นกัน และมีบทบาทสำคัญมากในกระบวนการเจริญเติบโตของเด็ก จึงไม่ควรขาดการบำรุงนะคะ


โปรตีนเป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่สำคัญต่อร่างกาย มีหน้าที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ซึ่งหลายคนไม่ทราบว่า โปรตีนสามารถช่วยเพิ่มความสูงได้
เพราะคนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า สารอาหารที่ช่วยให้เพิ่มความสูงได้มีเพียงแคลเซียมเท่านั้น แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลยค่ะ เพราะแคลเซียมนั้นมีหน้าที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกไม่แตกหรือเปราะง่าย ไม่ได้มีหน้าที่ช่วยให้ยืดกระดูก
ต้องทานมากแค่ไหนถึงจะพอดี

– เด็กทารก ( อายุประมาณ 1-3 ขวบ) ร่างกายจะต้องการโปรตีนอยู่ที่ประมาณ 1.2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. หรือประมาณ 15 กรัม ต่อวัน

– เด็กเล็ก ( อายุประมาณ 3-7 ขวบ) ร่างกายจะต้องการโปรตีนอยู่ที่ประมาณ 1.1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. หรือประมาณ 26 กรัมต่อวัน

Share this post with your friends

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *